การออกคำสั่งทางปกครองให้ชอบด้วยกฎหมาย ทีมทนายเชียงราย และสำนักงานกฎหมายเชียงราย ขอเรียนว่าต้องพิจารณาจากเงื่อนไข 2 เงื่อนไข
ได้แก่
เงื่อนไขเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง และ เงื่อนไขเกี่ยวกับขอบอำนาจการออกคำสั่งทางปกครอง
เงื่อนไขแรก
นั่นก็คือ “เงื่อนไขเกี่ยวกับกระบวนการออกคำสั่งทางปกครอง”
คู่กรณี คือ
ผู้มีส่วนได้เสียหรือได้รับผลกระทบของการออกคำสั่งทางปกครอง จะประกอบไปด้วย
ผู้ร้องขอ ผู้ขอคัดค้าน ผู้อยู่ในบังคับคำสั่ง
ผู้ซึ่งจะเข้ามาในกระบวนพิจารณา
จะดำเนินการด้วยตนเองหรือ จะมอบอำนาจให้ทนายความ
หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทนได้
เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง
คือเจ้าหน้าที่ที่ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายให้มีอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครอง
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1.
เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองโดยตรงตามกฎหมายกำหนด เช่น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ นายกเทศมนตรีที่มีอำนาจในการออกคำสั่งตาม
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 เป็นต้น
2.
เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง
ซึ่งต้องพิจารณาจากกฎหมายที่ให้อำนาจในการมอบอำนาจ และบุคคลผู้รับมอบอำนาจ และ
การมอบอำนาจให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองนั้นต้องไม่มีส่วนได้เสียในการออกคำสั่งทางปกครอง
เนื่องมาจากฐานของเจ้าหน้าผู้ออกคำสั่ง ทีมทนายเชียงราย และสำนักงานกฎหมายเชียงราย ขอเรียนว่ากล่าวคือ เจ้าหน้าผู้ออกคำสั่งได้ออกคำสั่งทางปกครองให้กับตัวเอง
คู่สมรส หรือคู่หมั้นของผู้ออกคำสั่งเอง เช่น ปลัด อ.บ.ต.รักษาการณ์ นายก อ.บ.ต.
ออกคำสั่งเลื่อนขึ้นเงินเดือนให้กับเจ้าหน้าที่ใน อ.บ.ต. และ
ส่วนได้เสียอันเกิดจากสภาพภายในตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง เช่น ส่วนได้เสียในเชิงธุรกิจ เป็นต้น
ในส่วนของขั้นตอนการออกคำสั่งทางปกครอง มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ประการ ดังนี้
1.
การริเริ่มออกคำสั่งทางปกครองที่ต้องมีคำขอและไม่ต้องมีคำขอสำหรับการประกอบกิจการใดๆ
2.
ได้รับคำแนะนำ/การอนุมัติ/ความเห็นชอบ จากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจก่อน
จึงจะสามารถออกคำสั่งทางปกครองได้
หากฝ่าฝืนจะถือว่าคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. ระยะเวลาในการออกคำสั่ง ประกอบไปด้วย
ระยะเวลาบังคับ คือ หากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจไม่ออกคำสั่งทางปกครองในเวลาที่กำหนด
คำสั่งจะมีผลเป็นไปตามที่กำหมายให้อำนาจไว้
และ ระยะเวลาเร่งรัด
คือระยะเวลาที่กำหนดว่าต้องมีการดำเนินการออกคำสั่งภายในเวลาที่กำหมายกำหนด
ส่วนรูปแบบในการออกคำสั่งและการแจ้งคำสั่งนั้น ทีมทนายเชียงราย และสำนักงานกฎหมายเชียงราย ขอเรียนว่าโดยทั่วไป
คำสั่งทางปกครองจะไม่มีรูปแบบเว้นแต่กฎหมายที่ให้อำนาจจะกำหนดไว้
แต่ก็ต้องอาศัยหลักกฎหมายในการทำคำสั่งทางปกครอง นั่นก็คือ
คำสั่งทางปกครองต้องเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้ง ว่าผู้ที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองอย่างไร
และเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องแจ้งคำสั่งให้ชอบด้วยกำหมาย
ไม่ว่าผู้ที่จะต้องถูกบังคับ จะรับทราบข้อความในคำสั่งหรือไม่
ถ้าแจ้งชอบด้วยกำหมายแล้ว ให้ถือว่าผู้ที่จะต้องถูกบังคับตามคำสั่งนั้นรับทราบคำสั่งนั้นแล้ว
โดยการให้เหตุผลประกอบคำสั่งต้องมีอย่างน้อย 3 รายการ ได้แก่
ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระในการออกคำสั่ง
ข้อกฎหมายที่อ้างอิง และ ข้อพิจารณา หรือ ข้อสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจ
หรือที่เรียกว่าเหตุผลประกอบคำสั่งนั้นเอง หากไม่มีการแจ้งเหตุผลในการออกคำสั่ง
คือว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การแจ้งสิทธิอุทธรณ์ ทีมทนายเชียงราย และสำนักงานกฎหมายเชียงราย ขอเรียนว่าการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเป็นสิทธิของผู้รับคำสั่งว่าจะใช้สิทธิ์หรือไม่ก็ได้
แต่เจ้าหน้าที่ต้องทำการแจ้งสิทธิ์ให้กับผู้รับคำสั่งทราบด้วยทุกครั้ง
(ห้ามแจ้งด้วยวาจา) ถ้าผู้รับคำสั่งทางปกครองจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง
ผู้นั้นต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนทุกครั้งเช่นกันไม่ว่าคำสั่งนั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
และต้องแจ้งให้ครบตามเรื่องที่กำหนด หากไม่ครบตามรายการจะถือว่า ไม่มีการแจ้งสิทธิอุทธรณ์ในคำสั่งแต่อย่างใด
เว้นแต่เป็นคำสั่งบางประเภทที่ไม่ต้องแจ้งสิทธิอุทธรณ์
เงื่อนไขที่สอง “เงื่อนไขเกี่ยวกับขอบอำนาจการออกคำสั่งทางปกครอง”
ขอบอำนาจทางปกครองที่จะให้คำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
3 ประการ ได้แก่
1.
เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ออกคำสั่งทางปกครอง
กฎหมายจะบัญญัติไว้ว่าเจ้าหน้าที่จะออกคำสั่งได้ก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงที่กฎหมายกำหนด
ว่าจะต้องเกิดขึ้นหรือมีเสียก่อนผู้มีอำนาจออกคำสั่ง ถึงจะออกคำสั่งมาบังคับใช้
ถ้าข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นไม่มีอยู่หรือเกิดขึ้นในเวลาออกคำสั่ง
คำสั่งที่ออกไปก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทโดยต้องพิจารณาจากการกระทำหรือพฤติการณ์ของบุคคล คุณภาพของสิ่งของ สถานการณ์ของสังคม และข้อเท็จจริงที่เป็นนิติกรรมทางปกครอง
2. เงื่อนไขในเรื่องข้อความในคำสั่ง
เนื้อความในคำสั่งนั้นต้องชัดเจน ต้องไม่เป็นการพ้นวิสัย หรือ
ขัดกับความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
3. เงื่อนไขความมุ่งหมายในการออกคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองนั้นต้องสอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะที่กฎหมายฉบับที่ให้อำนาจในการออกคำสั่งมุ่งคุ้มครอง
ถ้าหากการออกคำสั่งทางปกครองไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว
ถือว่าคำสั่งทางปกครองดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถแก้ไขคำสั่งทางปกครองได้ถ้าหากศาลปกครองได้พิพากษาว่าเป็นคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งก็ต้องดำเนินการใหม่ตั้งต้น
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก ศูนย์อนามัยที่ 4ราชบุรี
Tag: ทนายเชียงราย, ทนายเชียงรายช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงราย, สำนักงานกฎหมายเชียงราย, ทนายความเชียงราย, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงราย, ทนายเชียงราย เก่ง ๆ, ปรึกษาทนายเชียงราย, ทนายอาสาเชียงราย, สภาทนายเชียงราย, ทนายความเชียงรายมืออาชีพ, ทนายความเชียงรายช่วยเหลือประชาชน, ทนายเชียงรายความมุ่งมั่น,ทนายความเชียงรายคลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงรายช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงรายมุ่งมั่น, สำนักงานกฎหมายเชียงรายคลายทุกข์
#สำนักงานทนายเชียงราย #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงราย #สำนักงานกฎหมายเชียงราย #ทนายเชียงรายเก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงราย #ทนายเชียงราย #ทนายอาสาเชียงราย #สภาทนายเชียงราย #ทนายความเชียงราย

Share on Facebook